หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2567 เป็นหลักสูตรหลังมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อยกระดับการศึกษาวิชาชีพของบุคคลให้สูงขึ้น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ แผนการศึกษาแห่งชาติ ความต้องการของสถานประกอบการ รวมทั้งข้อเสนอจากคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) โดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นไปตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) มาตรฐานการศึกษาของชาติ และกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ตลอดจนยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานอื่น ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนระดับฝีมือ รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงาน ชุมชน สังคม ซึ่งสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกระบบและวิธีการเรียนได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ ตามความสนใจ และโอกาสของตน ส่งเสริมให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อจัดการศึกษา และพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่างสถาบันการอาชีวศึกษา สถานศึกษา หน่วยงาน สถานประกอบการ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น และระดับชาติ
สาขาวิชาที่เปิดสอน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ได้แก่
ทำไมต้องเรียน “การบัญชี” ?
ไม่ว่าประเทศไหน ๆ “นักบัญชี” จะต้องเป็นหนึ่งในอาชีพที่ติดอันดับขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอยู่ในอันดับต้น ๆ เพราะเรื่องของการจัดการการเงินหรือทำบัญชีนั้น ถือเป็นส่วนงานที่สำคัญมากของสถาบันอุตสาหกรรมและหน่วยงานทุกภาคส่วน และเป็นอาชีพที่มีเงินเดือนค่อนข้างสูง มีโอกาสก้าวหน้าในการทำงานค่อนข้างเร็ว ดังนั้น น้อง ๆ คนไหนเห็นโอกาสในการทำงาน และมีใจรักการคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ สาขานี้ถือเป็นสาขาที่ตอบโจทย์มาก
เรียน “การตลาด” แล้วได้อะไรบ้าง ?
ปัจจุบัน “การตลาด (Marketing)” เข้าไปแทรกซึมเป็นส่วนสำคัญในทุกธุรกิจ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างความน่าสนใจให้ธุรกิจได้เป็นอย่างดี สินค้าหลาย ๆ แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว เกิดกระแสไวรัลในโซเชียล ผู้บริโภครุ่นใหม่เลือกติดตามและสนับสนุน ฉะนั้นจะทำอย่างไร ? ให้ธุรกิจหรือแบรนด์ที่ทำอยู่ยังคงน่าสนใจ เติบโต และทันเทรนด์ ตอบโจทย์ผู้บริโภค สาขาวิชาการตลาดที่วิทยาลัยเรามีคำตอบให้ค่ะ
สาขาวิชาที่เปิดสอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่
รู้จักกับสาขาวิชา “เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล”
“เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล” เป็นสาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสอนให้นักเรียนและนักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจดิจิทัล ควบคู่ความรู้ด้านหลักการการจัดการ และโครงสร้างของศาสตร์ทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถนำธุรกิจดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับระบบงานธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาขาวิชาที่เปิดสอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่
“ช่างไฟฟ้า” สาขายอดนิยม
เรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาด้านวิชาช่างไฟฟ้า วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า ศึกษากฎของโอห์ม กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า วงจรความต้านทานแบบต่าง ๆ วงจรแบ่งกระแสไฟฟ้า วงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้า การแปลงวงจรความต้านทานเดลต้า-สตาร์ ดีเทอร์มิแนนต์ เซลล์ไฟฟ้า กฎของเคอร์ชอฟฟ์ วงจรบริดจ์ เมชเคอร์เรนท์ การติดตั้งไฟฟ้าในอาคารและโรงงาน การควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องมือวัด โปรแกรมและการควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า นิวเมติกส์ไฮดรอลิกเบื้องต้น เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้
“ช่างยนต์” ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร ?
สาขาวิชาช่างยนต์ คือ สาขาวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์ เช่น การบำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์ ระบบเครื่องล่างรถยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ ระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศรถยนต์ เป็นต้น รวมไปถึงรถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้ในการเกษตร การเรียนในสาขาวิชาช่างยนต์นั้นจะเน้นการฝึกปฏิบัติและทฤษฎีควบคู่กัน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในสายงานช่างยนต์