หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

          หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2567 เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เพื่อยกระดับการศึกษาวิชาชีพของบุคคลให้สูงขึ้น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ แผนการศึกษาแห่งชาติ ความต้องการของสถานประกอบการ รวมทั้งข้อเสนอจากคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) โดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นไปตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) มาตรฐานการศึกษาของชาติ และกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ตลอดจนยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานอื่น ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนระดับฝีมือ รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงาน ชุมชน สังคม ซึ่งสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกระบบและวิธีการเรียนได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ ตามความสนใจและโอกาสของตน ส่งเสริมให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อจัดการศึกษา และพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่างสถาบันการอาชีวศึกษา สถานศึกษา หน่วยงาน สถานประกอบการ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น และระดับชาติ

สาขาวิชาที่เปิดสอน ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ได้แก่

สาขางานนักบริหารจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย

มุ่งเน้นให้สามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรมในงานอาชีพนักบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ออกแบบระบบเครือข่าย ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเครือข่าย ติดตั้งและใช้งานระบบปฏิบัติการเครือข่าย บริหารจัดการระบบเครือข่ายและความปลอดภัย สามารถบริหารจัดการ ประสานงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพนักบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง

เพิ่มเติม...

สาขาวิชาที่เปิดสอน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ได้แก่

สาขางานการบัญชี

สามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรมในงานอาชีพด้านการบัญชีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านการบัญชี บริหารจัดการประสานงานและประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพด้านการบัญชีด้วยตนเอง ปฏิบัติงานด้านบัญชีครบทั้งวงจรตามหลักการบัญชี มาตรฐานรายงานทางการเงินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานในฐานะผู้ช่วยงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การตรวจสอบและการวางระบบบัญชีปฏิบัติงานเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ใช้ระบบสารสนเทศในงานบัญชีและปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

เพิ่มเติม...

สาขางานการตลาด

สามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรมในงานอาชีพการตลาดที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานการตลาดบริหารจัดการ ประสานงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพการตลาดด้วยตนเอง ปฏิบัติการด้านการตลาดตามหลักการและกระบวนการโดยใช้เทคนิคและวิธีการวิจัยการตลาด

เพิ่มเติม...

สาขางานธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

สามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรมในงานอาชีพธุรกิจดิจิทัลที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหา และการปฏิบัติงานธุรกิจดิจิทัล บริหารจัดการ ประสานงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพธุรกิจดิจิทัลด้วยตนเอง ออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้บนเว็บไซต์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

เพิ่มเติม...

สาขางานธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่

สามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรมในงานอาชีพการจัดการธุรกิจค้าปลีกที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีก บริหารจัดการ ประสานงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพการจัดการธุรกิจค้าปลีกด้วยตนเอง ดูแลและตรวจสอบ การป้องกันการสูญเสียของสินค้าในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่

เพิ่มเติม...

สาขาวิชาที่เปิดสอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่

สาขางานไฟฟ้ากำลัง

สามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรมในงานอาชีพไฟฟ้ากำลังที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางกรณี ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานไฟฟ้ากำลัง บริหารจัดการ ประสานงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพไฟฟ้ากำลังด้วยตนเอง ออกแบบ ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าสื่อสารของอาคาร โรงงาน และตรวจสอบซ่อมบำรุงไฟฟ้า

เพิ่มเติม...

สาขางานเทคนิคยานยนต์

สามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรมในงานอาชีพซ่อมบํารุงยานยนต์ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านยานยนต์ บริหารจัดการ ประสานงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพซ่อมบํารุงยานยนต์ด้วยตนเอง บริการระบบเครื่องยนต์ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ บริการระบบไฟฟ้ายานยนต์ บริการระบบเครื่องล่างและส่งกําลังยานยนต์ บริการระบบปรับอากาศยานยนต์

เพิ่มเติม...